วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่15

กการสอบ
๑. (Classroom Management) หมายถึง การจัดการชั้นเรียนโดยยึดหลักการดังนี้
-                  การสร้างวินัยที่มีประสิทธิผล
-                  การเตรียมการชั้นเรียน
-                  การจูงใจนักเรียน
-                  การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
-                  การจัดสภาพการเรียนทางบวก
-                  การสร้างการยอมรับนับถือตนเอง
-                  การสร้างความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
(Classroom Management) มีความสัมพันธ์กับหลักสูตร
Classroom Management  ช่วยให้นักเรียนพัฒนาในการควบคุมตนเองเพื่อให้มีชีวิตและทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข และสร้างความพึงพอใจและความสนุกสนานนำมาสู่ความร่วมมือในการเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นความสัมพันธ์สูงสุดของการเริ่มต้นในการสอนของครู
๒. มาตรฐานวิชาชีพครู    เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพ
คุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ตาม พ.ร.บ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน  ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548 กล่าวคือ
1. มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
2. มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน
3. มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน 
มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดไว้ว่า ความรู้  ครูต้องมีความรู้ในเรื่อง ดังนี้    

1.  ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู    
2.  การพัฒนาหลักสูตร    
3.  การจัดการเรียนรู้    
4.  จิตวิทยาสำหรับครู    
5.  การวัดและประเมินผลการศึกษา    
6.  การบริหารจัดการในห้องเรียน      
7.  การวิจัยทางการศึกษา    
8.  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา    
9. ความเป็นครู
ประสบการณ์  ผู้จะเป็นครูต้องมีประสบการณ์ ดังนี้
1) วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพ(คุรุสภา) รับรอง หรือ
2) วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือฝึกอบรม วิชาชีพทาง การศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
 3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินกาปฏิบัติการสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด 

มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ประกอบด้วย 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

                        มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ             
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์        มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์

มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน ได้แก่ จรรยาบรรณครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ ดังนี้
1) ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2) ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3) ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4) ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5) ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

6) ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7) ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู              
8) ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครู และชุมชนในทางสร้างสรรค์
9) ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย 

มาตรฐานวิชาชีพครู จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู ดังกล่าวข้างต้น
๓. หลักการแนวคิดในการจัดการชั้นเรียน
             การจัดการชั้นเรียนเป็นการปฏิบัติเกี่ยวกับการกำกับ ดูแลสร้างกฎระเบียบ ข้อตกลงในชั้นเรียน การจัดการพฤติกรรมของนักเรียน การแก้ไขปัญหาร่วมกันในชั้น เรียน การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี ห้องเรียนมีลักษณะยืดหยุ่น เป็นแหล่งวิชาการ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ส่งเสริมชีวิตแบบประชาธิปไตย ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและมีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับเอกสารประจำชั้น
๔. การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมในบริเวณโรงเรียน
            การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ สวนหย่อม ไม้ดอก ไม้ประดับสนามเด็กเล่น ฯลฯ ต้องพร้อมที่จะให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาหาความรู้ นอกจากนั้นปฏิสัมพันธ์ของบุคลากรในโรงเรียนกับนักเรียนกับผู้ปกครองนักเรียน และกับบุคลากรในโรงเรียนด้วยกันต้องเป็นไปในทางที่ดี เป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น
สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย อาคารเรียนสะอาด น่าอยู่ มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย  มีการตรวจสภาพสื่อการเรียน และอุปกรณ์การเรียนทุกเดือน 
            

๕. คุณภาพของผู้เรียน
คุณภาพของผู้เรียน เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดบรรยากาศและสภาพ แวดล้อม ที่ดี การบริหารจัดการที่ดี และการจัดการเรียนรู้ที่ดี มีประสิทธิภาพของโรงเรียน ซึ่งมีตัวบ่งชี้ที่สำคัญ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสื่อความ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สุนทรียภาพด้านดนตรี ศิลปะและกีฬา  พัฒนาการด้านสมรรถภาพทางกาย  ตลอดจนการแสดงออกทางหน้าตาท่าทางถึงความสุขในการเรียนของผู้เรียน
ตัวอย่างผู้เรียนที่มีคุณภาพ
๑.     มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ มาตรฐานที่ตั้งไว้
๒.   การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๓.   การทดสอบทางการศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๔.   ผ่านการทดสอบทางการศึกษา ระดับท้องถิ่น) ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๕.   คุณลักษณะอันพึงประสงค์จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ
๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
๒. ซื่อสัตย์สุจริต
๓. มีวินัย
๔. ใฝ่เรียนรู้
๕. อยู่อย่างพอเพียง
๖. มุ่งมั่นในการทำงาน
๗. รักความเป็นไทย
๘. มีจิตสาธารณะ
๖. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรม
            การจัดการเรียนรู้แบบConstructionism เป็นแนวที่เน้นให้ผู้เรียน สร้างองค์ความรู้ผ่านการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติโดยการทำโครงงาน บูรณาการด้วยเทคโนโลยี วิชาการ ศิลปะ วัฒนธรรม ความเป็นไทย ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแบบอย่างในการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแข่งขันได้ในยุคโลกาภิวัฒน์ นอกจากวิธีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้ ผ่านโครงงานที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนากระบวนการเรียนรู้ จากการปฏิบัติจริงในเรื่องที่ตนเองสนใจ และบูรณาการวิชาการต่าง ๆ แล้วยังมุ่งพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้าน ให้กับผู้เรียน ดังนี้
IQ (Intelligence Quotient) พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะในกระบวนการคิด การเรียนรู้ มีความเฉลียวฉลาดเพิ่มขึ้น และสนใจใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง
EQ (Emotional Quotient) พัฒนาให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง มีสติดีอยู่เสมอ และมีความมั่นคงทางอารมณ์
AQ (Adversity Quotient) พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาและการเผชิญสถานการณ์ที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และทำงานภายใต้สภาวะความกดดันได้ดี
TQ (Technology Quotient) พัฒนาผู้เรียนให้มีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี และเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับความต้องการ
MQ (Morality Quotient) การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย เข้าไปในทุกขั้นตอนของการเรียนรู้จนติดเป็นนิสัยแนว Constructionism เป็นการพัฒนาเด็กให้เป็นผู้มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ดี มีคุณธรรม สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุขในโลกยุคใหม่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรงและกว้างขวาง โรงเรียน จะต้องเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีความคล่องตัวสูง ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างรวดเร็ว จึงมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีวินัย 5 ประการ ดังนี้


รู้จักตนเอง สามารถวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังคำกล่าวที่ว่า อ่านตนออก บอกตนได้ ใช้ตนเป็น เห็นตนชัด พัฒนาตนเอง อย่างสม่ำเสมอ
มีความที่เปิดกว้าง ยอมรับและเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล รับฟังความคิดที่แตกต่างของผู้อื่นได้ด้วยใจเป็นสุข
การผสานวิสัยทัศน์ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กร เพื่อให้ทุกคนมุ่งมั่นตั้งใจทำงานให้ประสบความสำเร็จในทิศทางเดียวกัน
การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม สร้างทีมงานที่ทำร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพด้วยบรรยากาศการทำงานอย่างเป็นกัลยาณมิตร
คิดเป็นระบบครบวงจร มองสิ่งต่าง ๆ เป็นองค์รวม เห็นถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของสิ่งต่าง ๆ ทำให้เข้าใจเหตุและปัจจัยขององค์กร เมื่อเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ก็จะสามารถร่วมมือร่วมใจกันรับมือและคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น