วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สอบครั้งที่ 2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1. Classroom Management        การจัดการเรียนการสอน
2. Happiness Classroom            การจัดชั้นเรียนมีความสุข
3. Life-long Education               การศึกษาตลอกชีวิต
4. formal Education                   การศึกษานอกโรงเรียน
5. non-formal education             การศึกษานอกระบบ
6. E-learning                 การเรียนรู้
7. Graded                     ให้คะแนน
8. Policy education      นโยบายการศึกษา
9. Vision                      วิสัยทัศน์
10. Mission                  หน้าที่
11. Goals                      เป้าหมาย
12. Objective                วัตถุประสงค์
13. backward design      ย้อนกลับการออกแบบ
14. Effectiveness            ประสิทธิผล
15. Efficiency                ประสิทธิภาพ
16. Economy                  เศรษฐกิจ
17. Equity                       ตราสารทุน
18. Empowerment          เสริมสร้างพลังอำนาจ
19. Engagement             หมั่น
20. Project                     โครงการ
21. activies
22. Leadership              ความเป็นผู้นำ
23. Leaders                   ผู้นำ
24. Follows                   ดังต่อไปนี้
25. Situations                สถานการณ์
26. Self awareness         ความตระหนักในตนเอง
27. Communication        การสื่อสาร
28. Assertiveness            อหังการ
29. Time management  การบริหารเวลา
30. POSDCoRB
31. Formal Leaders       ผู้นำอย่างเป็นทางการ
32. Informal Leaders   ผู้นำทางการ
33. Environmet           สิ่งแวดล้อม
34. Globalization       วัฒนธรรมองค์กร
33. Competency
34. Organization Cultural    องค์กรเกี่ยวกับวัฒนธรรม
35. Individual Behavior     พฤติกรรมบุคคล
36. Group Behavior            พฤติกรรมกลุ่ม
37. Organization Behavior    พฤติกรรมองค์การ
38. Team working                 ทำงานเป็นทีม
39. Six Thinking Hatss           หมวกคิด
40. Classroom Action Research  วิจัยในชั้นเรียน

ประเมินการใช้เครื่อมือบล็อก

ประเมินการใช้เครื่องมือบล็อก

การประเมินการใช้บล็อกนี้
ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
ตอบ มีความสะดวกมาก จะส่งเวลาไหนก็ได้ ขอแค่มีอินเตอร์เน็ตใช้เพราะบางทีเวลาในคาบเรียนน้อยไม่พอต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน และเวลาส่วนใหญ่ดิฉันจะทำงานตอนกลางคืน เวลาทำงานเสร็จก็จะได้ส่งเลยไม่ต้องรอส่งในคาบเรียนและไม่ต้องพิมพ์ลงกระดาษให้เปลืองกระดาษและอาจารย์จะตรวจตอนไหนก็ได้

2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ตอบ ได้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างบล็อกมากและวิธีการตกแต่งบล็อกให้สวยงาน น่าสนใจ  การใช้เครื่องมือในการเสนองานและวิธีการนำเสนองานได้หลากหลาย สุดท้ายได้วิธีการสร้างภาพสไลด์โชว์ในบล็อกเป็นการประหยัดเนื้อที่ในคอมพิวเตอร์

3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ตอบ ข้อดี  จากการเรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียน โดยวิชานี้มีความแตกต่างกับวิชาอื่นโดยอาจารย์ได้สอนความรู้ใหม่ๆให้กับดิฉันโดยดิฉันได้รับความรู้ในการทำ Web Blog  เป็นของตัวเอง ถ้าดิฉันไม่ได้เรียนกับอาจารย์ก็คงยังไม่รู้จักการตกแต่งบล็อก แต่วันนี้ดิฉันรู้จักและมีความรู้พอที่จะนำสิ่งที่ได้รับไปใช้ในได้จริง ดิฉันจึงประทับใจในการทุ่มเทของอาจารย์มากที่สอนสิ่งที่ดี สิ่งที่ใหม่ที่เป็นประโยชน์ทำให้ชีวิตการเป้นครูในอนาคตของดิฉันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อเสีย การสอนของอาจารย์อาจจะไม่ละเอียดในด้านเนื้อหามากนัก และรวมทั้งเลือกใช้การสอนโดยใช้ Web Blog โดยเกิดความลำบากในการเรียนของดิฉันและยังไม่สะดวกเพราะอินเตอร์เน็ตในมหาวิทยาลัยไม่แรงพอ จึงเกิดปัญหาในการเรียน และทุกคนยังไม่มีคอมที่จะใช้งาน อาจารย์ควรสอนในห้องคอมเพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้
ข้อเสนอแนะ ถ้าหากอาจารย์จะสอนการใช้ Web blog แล้วละก็ควรที่จะหาห้องเรียนที่มีคอมพิวเตอร์พร้อมที่จะรองรับนักศึกษาที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ในการเรียน ส่วนในเรื่องของเนื้อหาวิชาเรียน การบริหารจัดการในชั้นเรียน ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องต่างๆในชั้นเรียนเพื่อที่จะให้นักศึกษาคุ้นเคยกับห้องเรียน การสอนควรที่จะพูดเร็วพอประมาน

4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว(เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่15

กการสอบ
๑. (Classroom Management) หมายถึง การจัดการชั้นเรียนโดยยึดหลักการดังนี้
-                  การสร้างวินัยที่มีประสิทธิผล
-                  การเตรียมการชั้นเรียน
-                  การจูงใจนักเรียน
-                  การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
-                  การจัดสภาพการเรียนทางบวก
-                  การสร้างการยอมรับนับถือตนเอง
-                  การสร้างความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
(Classroom Management) มีความสัมพันธ์กับหลักสูตร
Classroom Management  ช่วยให้นักเรียนพัฒนาในการควบคุมตนเองเพื่อให้มีชีวิตและทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข และสร้างความพึงพอใจและความสนุกสนานนำมาสู่ความร่วมมือในการเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นความสัมพันธ์สูงสุดของการเริ่มต้นในการสอนของครู
๒. มาตรฐานวิชาชีพครู    เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพ
คุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ตาม พ.ร.บ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน  ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548 กล่าวคือ
1. มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
2. มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน
3. มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน 
มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดไว้ว่า ความรู้  ครูต้องมีความรู้ในเรื่อง ดังนี้    

1.  ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู    
2.  การพัฒนาหลักสูตร    
3.  การจัดการเรียนรู้    
4.  จิตวิทยาสำหรับครู    
5.  การวัดและประเมินผลการศึกษา    
6.  การบริหารจัดการในห้องเรียน      
7.  การวิจัยทางการศึกษา    
8.  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา    
9. ความเป็นครู
ประสบการณ์  ผู้จะเป็นครูต้องมีประสบการณ์ ดังนี้
1) วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพ(คุรุสภา) รับรอง หรือ
2) วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือฝึกอบรม วิชาชีพทาง การศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
 3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินกาปฏิบัติการสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด 

มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ประกอบด้วย 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

                        มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ             
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์        มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์

มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน ได้แก่ จรรยาบรรณครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ ดังนี้
1) ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2) ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3) ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4) ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5) ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

6) ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7) ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู              
8) ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครู และชุมชนในทางสร้างสรรค์
9) ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย 

มาตรฐานวิชาชีพครู จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู ดังกล่าวข้างต้น
๓. หลักการแนวคิดในการจัดการชั้นเรียน
             การจัดการชั้นเรียนเป็นการปฏิบัติเกี่ยวกับการกำกับ ดูแลสร้างกฎระเบียบ ข้อตกลงในชั้นเรียน การจัดการพฤติกรรมของนักเรียน การแก้ไขปัญหาร่วมกันในชั้น เรียน การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี ห้องเรียนมีลักษณะยืดหยุ่น เป็นแหล่งวิชาการ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ส่งเสริมชีวิตแบบประชาธิปไตย ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและมีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับเอกสารประจำชั้น
๔. การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมในบริเวณโรงเรียน
            การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ สวนหย่อม ไม้ดอก ไม้ประดับสนามเด็กเล่น ฯลฯ ต้องพร้อมที่จะให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาหาความรู้ นอกจากนั้นปฏิสัมพันธ์ของบุคลากรในโรงเรียนกับนักเรียนกับผู้ปกครองนักเรียน และกับบุคลากรในโรงเรียนด้วยกันต้องเป็นไปในทางที่ดี เป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น
สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย อาคารเรียนสะอาด น่าอยู่ มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย  มีการตรวจสภาพสื่อการเรียน และอุปกรณ์การเรียนทุกเดือน 
            

๕. คุณภาพของผู้เรียน
คุณภาพของผู้เรียน เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดบรรยากาศและสภาพ แวดล้อม ที่ดี การบริหารจัดการที่ดี และการจัดการเรียนรู้ที่ดี มีประสิทธิภาพของโรงเรียน ซึ่งมีตัวบ่งชี้ที่สำคัญ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสื่อความ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สุนทรียภาพด้านดนตรี ศิลปะและกีฬา  พัฒนาการด้านสมรรถภาพทางกาย  ตลอดจนการแสดงออกทางหน้าตาท่าทางถึงความสุขในการเรียนของผู้เรียน
ตัวอย่างผู้เรียนที่มีคุณภาพ
๑.     มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ มาตรฐานที่ตั้งไว้
๒.   การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๓.   การทดสอบทางการศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๔.   ผ่านการทดสอบทางการศึกษา ระดับท้องถิ่น) ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๕.   คุณลักษณะอันพึงประสงค์จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ
๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
๒. ซื่อสัตย์สุจริต
๓. มีวินัย
๔. ใฝ่เรียนรู้
๕. อยู่อย่างพอเพียง
๖. มุ่งมั่นในการทำงาน
๗. รักความเป็นไทย
๘. มีจิตสาธารณะ
๖. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรม
            การจัดการเรียนรู้แบบConstructionism เป็นแนวที่เน้นให้ผู้เรียน สร้างองค์ความรู้ผ่านการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติโดยการทำโครงงาน บูรณาการด้วยเทคโนโลยี วิชาการ ศิลปะ วัฒนธรรม ความเป็นไทย ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแบบอย่างในการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแข่งขันได้ในยุคโลกาภิวัฒน์ นอกจากวิธีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้ ผ่านโครงงานที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนากระบวนการเรียนรู้ จากการปฏิบัติจริงในเรื่องที่ตนเองสนใจ และบูรณาการวิชาการต่าง ๆ แล้วยังมุ่งพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้าน ให้กับผู้เรียน ดังนี้
IQ (Intelligence Quotient) พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะในกระบวนการคิด การเรียนรู้ มีความเฉลียวฉลาดเพิ่มขึ้น และสนใจใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง
EQ (Emotional Quotient) พัฒนาให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง มีสติดีอยู่เสมอ และมีความมั่นคงทางอารมณ์
AQ (Adversity Quotient) พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาและการเผชิญสถานการณ์ที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และทำงานภายใต้สภาวะความกดดันได้ดี
TQ (Technology Quotient) พัฒนาผู้เรียนให้มีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี และเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับความต้องการ
MQ (Morality Quotient) การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย เข้าไปในทุกขั้นตอนของการเรียนรู้จนติดเป็นนิสัยแนว Constructionism เป็นการพัฒนาเด็กให้เป็นผู้มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ดี มีคุณธรรม สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุขในโลกยุคใหม่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรงและกว้างขวาง โรงเรียน จะต้องเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีความคล่องตัวสูง ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างรวดเร็ว จึงมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีวินัย 5 ประการ ดังนี้


รู้จักตนเอง สามารถวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังคำกล่าวที่ว่า อ่านตนออก บอกตนได้ ใช้ตนเป็น เห็นตนชัด พัฒนาตนเอง อย่างสม่ำเสมอ
มีความที่เปิดกว้าง ยอมรับและเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล รับฟังความคิดที่แตกต่างของผู้อื่นได้ด้วยใจเป็นสุข
การผสานวิสัยทัศน์ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กร เพื่อให้ทุกคนมุ่งมั่นตั้งใจทำงานให้ประสบความสำเร็จในทิศทางเดียวกัน
การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม สร้างทีมงานที่ทำร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพด้วยบรรยากาศการทำงานอย่างเป็นกัลยาณมิตร
คิดเป็นระบบครบวงจร มองสิ่งต่าง ๆ เป็นองค์รวม เห็นถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของสิ่งต่าง ๆ ทำให้เข้าใจเหตุและปัจจัยขององค์กร เมื่อเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ก็จะสามารถร่วมมือร่วมใจกันรับมือและคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่14

กิจกรรมที่ 14

Mind Mapping  เป็นแผนที่ความคิดที่อัจฉริยะ เปรียบเสมือนลายแทงที่นำไปสู่       การจดจำ การเรียบเรียง การจัดระเบียบข้อมูลตามธรรมชาติ การทำงานของสมองตั้งแต่ต้น นั่นหมายความว่า การจำและฟื้นความจำ หรือการเรียกข้อมูลเหล่านั้นกลับมาใช้ในภายหลัง จะทำได้ง่าย และมีความถูกต้องแม่นยำกว่าการใช้เทคนิคการจดบันทึกแบบเดิม
วิธีการทำ Mind Mapping 
.เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน
๒. วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลางหน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต
๓. คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำ  ที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย บนเส้น ซึ่งเส้นแต่ละเส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง
๔.แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำหรือวลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา
๕. แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำหรือวลีเส้นที่แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อยๆ
            ๖.การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มีความหมายชัดเจน           
๗.คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น
๘.ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน
 ข้อดีของ Mind Mapping 
๑.ทำให้เห็นภาพรวมกว้าง ๆ ของหัวข้อใหญ่ หรือขอบเขตของเรื่อง
๒.ทำให้สามารถวางแผนเส้นทางหรือตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเพราะรู้ว่าตรงไหนกำลังจะไปไหนหรือผ่านอะไรบ้าง
๓.สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนมากลงไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกัน
๔.กระตุ้นให้คิดแก้ไขปัญหาโดยเปิดโอกาสให้มองเห็นวิธีใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์
๕.สร้างความเพลิดเพลินในการอ่านและง่ายต่อการจดจำ


 วิธีการสอนโดยใช้ หมวก 6 ใบ ทำให้เด็กได้รับความรู้และทดลองฝึกปฎิบัติวิธีการคิดที่หลากหลาย ทำให้ทราบว่า เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เราสามารถมีวิธีการคิด หรือมุมมองในเรื่องเดียวกันนั้น ได้หลายแบบ แล้วแต่ว่า คุณคิดโดยใช้หมวกสีใด ซึ่งหมวก 6 ใบ ใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยการคิดอย่างมีประสิทธิภาพได้ค่ะ.
ส่วนวิธีการสอนแบบโครงงาน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนและการหลัก คือ กระบวนการแก้ปัญหา การทำงานอย่างมีระบบ  มีขั้นตอน การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีฝึกวิเคราะห์  และประเมินตนเอง ทั้งหมดนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้
 สรุปได้ว่า วิธีการสอนแบบหมวก 6 ใบ นั้นสอนวิธีคิดจากหลาย ๆ ความคิด และวิธีสอนแบบโครงงาน  สอนให้เด็กคิดแบบเห็นประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้

กิจกรรมที่13

กิจกรรมที่ 13

The Healthy Classrom” ห้องเรียนที่มีคุณภาพ หมายถึง ห้องเรียนที่ให้ความรู้ทางด้านสติปัญญา สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เมื่อหันกลับมามองการจัดห้องเรียนให้มีคุณภาพในสังคมไทยปัจจุบัน จะมองเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า จะเน้นไปทางด้านสติปัญญาเพียงอย่างเดียว ไม่ฝึกให้เด็กรู้จักคิดและรู้จักการปฎิบัติจริงเพื่อสร้างความต่อเนื่องให้กับเด็ก และยังขาดการประเมินพฤติกรรมของเด็กครูจึงไม่สามารถรู้ได้ว่าเด็กมีความบกพร่องด้านใด จึงไม่สามาถแก้ไขเป็นรายบุคคลได้ทำให้เด็กแต่ละคนรับรู้ข้อมูลได้แตกต่างกัน

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่12

ความประทับใจในการศึกษาภาคสนามในภาคเหนือและภาคกลาง
ดอยสุเทพและดอยปุย
ในการศึกษาภาคสนามในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย  ในวันที่ 17-23  มกราคม 2554  ในครั้งนี้จะเป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำมากๆเพราะไปศึกษาครั้งนี้ดิฉันได้อะไรหลายๆอย่างที่ไม่เคยเห็น  ไม่เคยไป  และไม่เคยสัมผัสมาก่อน  การศึกษาภาคสนามครั้งนี้จะมีสถานที่หนึ่งที่ดิฉันประทับใจและที่ดิฉันสนใจเป็นพิเศษก็คือที่ดอยสุเทพหรือ บ้านม้งดอยปุย  .ที่ดอยสุเทพหรือดอยปุยและภาพที่เห็นครั้งแรกมาถึงดอยปุยคือหมู่บ้านขนาดใหญ่อยู่ระหว่างหุบเขาขนาดใหญ่ ที่มีหมู่บ้านชาวดอยอยู่เป็นจำนวนมากและมีสินค้าของฝากและพรมมากมายหลากหลาย และเส้นทางก่อนจะถึงสวนดอกไม้  ฝิ่น  จะมีเส้นทางเล็กๆ  ซึ่งบ้านแต่ละบ้านจะมีสินค้าออกมาขาย  ที่ชาวดอย  ถัด  ปัก  เย็บ  กันมาเองเป็นฝีมือชาวเขาแท้ๆ  ซึ่งมีความงดงามตามฉบับของชาวเขา  ชาวแม้ว   พอถึงสวนดอกไม้จะมีชุดชาวเขา  ชาวแม้ว ให้เช่าซึ่งเพื่อนๆทุกคนที่ไปก็ได้เช่าทั้งหมดจึงเห็นเด็กใต้ที่ตัวดำๆกับแต่งตัวเป็นชาวเขาก็ดูน่ารักไปอีกแบบตามฉบับของคนใต้  โดยทุกคนสนุกสนานในการถ่ายรูปกับดอกไม้  คนฝรั่ง ชาวเขา และเพื่อนๆไว้เป็นที่ระลึกและภาพที่ดิฉันมีความภาคภูมิใจนั้นก็คือ  ถึงช่วงหนึ่งกลุ่มของเพื่อนผู้ชายจะขอเพื่อนที่ใส่ชุดชาวดอยทุกคนมาถ่ายรูปกัน  ช่วงเวลานั้นเพื่อนๆทุกคนที่อยู่ตามสาละทิศต่างๆก็มารวมตัวกัน  โดยไม่ได้นัดหมาย  ซึ่งเป็นสิ่งที่ดิฉันประทับใจถึงความสามัคคีของเพื่อนต่างเพศ  ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็จะเห็นภาพที่สนุกสนาน  มีรอยยิ้ม  โดยที่ทุกคนไม่รุ้จักคำว่าเหน็ดเหนื่อย  จากการเดินทางเลยและเราก็ได้เดินทางไปยังพระราชตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ภายในตกแต่งด้วยดอกไม้นานาพันธ์  เช่น  ดอกกุหลาบ  ดอกกล้วยไม้และดอกไม้เมืองหนาวที่ไม่เคยได้เห็นมาก่อน  เมื่อเดินขึ้นไปข้างบนหน้าพระราชตำหนัก  จะมีสระน้ำขนาดใหญ่  ซึ่งจะมีน้ำผุมากมายราบร่ำตามเพลงพระราชนิพนธ์  ซึ่งเป็นภาพที่สวยงามเป็นสิ่งที่อัศจรรย์มาก  ในขณะที่เดินลงมาได้มีนักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่งซึ่งเขาเห็นกลุ่มมุสลิม  โดยเขาบอกว่าเขาไม่ค่อยเห็นคนที่ใส่ผ้าคลุมมาก่อน  นักท่องเที่ยวกลุ่มนั้นก็ขอถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก  ขณะนั้นดิฉันรู้สึกว่า  เหมือนดิฉันเป็นดาราที่มีคนมาขอถ่ายรูป  ซึ่งดิฉันมีความภูมิใจเป็นอย่างมากค่ะและในการศึกษาในครั้งนี้ดิฉันได้ความรู้และประสบการณ์เป็นอย่างมาก