วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3

กิจกรรมที่3
ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ 


พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ  เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 22 ของไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีดรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นเจ้าของสมญา "ขงเบ้งแห่งกองทัพบก" เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ขณะดำรงตำแหน่งทางทหาร เป็นผู้ก่อตั้ง และหัวหน้า พรรคความหวังใหม่ คนแรก และเป็นอดีต ส.ส.หลายสมัย มีคะแนนเสียงหนาแน่นในจังหวัดนครพนมสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "บิ๊กจิ๋ว" และในพื้นที่ภาคอีสาน เรียก พล.อ.ชวลิตว่า "พ่อใหญ่จิ๋ว" นอกจากนี้แล้วยังมีอีกฉายาหนึ่งว่า "จิ๋วหวานเจี๊ยบ" จากการมีบุคคลิกพูดจาอ่อนนิ่ม นุ่มนวล

ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง :
  • 23 มีนาคม 2527 : สมาชิกวุฒิสภา
  • 22 เมษายน 2530 : สมาชิกวุฒิสภา
  • 30 มีนาคม 2533 : รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รัฐบาลชาติชาย ครม.คณะที่ 45)
  • 22 มีนาคม 2535 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี
  • 15 พฤษภาคม 2535 : ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • 13 กันยายน 2535 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี
  • 29 กันยายน 2535 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (รัฐบาลชวน ครม.คณะที่ 50)
  • 14 กรกฎาคม 2537 : รองนายกรัฐมนตรี (รัฐบาลชวน ครม.คณะที่ 50)
  • 2 กรกฎาคม 2538 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครพนม
  • 18 กรกฎาคม 2538 : รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รัฐบาลบรรหาร ครม.คณะที่ 51)
  • 17 พฤศจิกายน 2539 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจ ังหวัดนครพนม
  • 25 พฤศจิกายน 2539 : นายกรัฐมนตรี
  • 29 พฤศจิกายน 2539 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รัฐบาลชวลิต ครม.คณะที่ 52)
  • 10 เมษายน 2540 : ประธานคณะผู้บริหารความหวังใหม่
  • 26 พฤศจิกายน 2540 : ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • 2 กันยายน 2541 : ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • 12 พฤษภาคม 2542 : ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • 17 กุมภาพันธ์ 2544 : รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รัฐบาลทักษิณ ครม.คณะที่ 54)
  • 24 กันยายน 2551 - 7 ตุลาคม 2551 : รองนายกรัฐมนตรี ((รัฐบาลสมชาย ครม.คณะที่ 58)
  • 27 ตุลาคม 2552 - ปัจจุบัน : ประธานพรรคเพื่อไทย[2]
กิจกรรมที่2
ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการในประเด็นนี้
1.มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
2.นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ให้สรุปเขียนในกิจกรรมที่2ลงในเว็บบล็อกของนักศึกษา โดยสรุปจากการอ่านของนักศึกษาให้มีการนำมาอ้างอิงสิ่งที่นักศึกษษนำมาใช้เขียน
สังคมของมนุษย์ เป็นสังคมที่รวมตัวการเป็นกลุ่ม หมุ่เหล่า เป็นชุมชนขนาดต่างๆ ตั้งแต่หมู่บ้าน ตำบล เมืองและประเทศ จึงต้องมีการจัดระบบระเบียบสังคม เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่างๆเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพื่ความอยู่รอดสงบสุขและบังเกิดความก้าวหน้าในชุมชนเหล่านั้น จึงเป็นสาเหตุให้เกิด สถาบันสังคมและการบริหาหารขึ้นมา
สถาบันสังคมที่จัดตั้งขึ้น ไม่ว่าสถาบันครอบครัว วัด โรงเรียนและองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงต้องอำนวยความสะดวกหรือบริการเพื่อประโยชน์สุขของสมาชิกและความเจริญของสังคม โดยดำเนินภารกิจตามที่สังคมมอบหมายด้วยการจัดตั้ง องค์การบริหารที่เหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรมนั้นๆ ดังนั้นสังคมกับองค์การบริหารจึงเป็นสิ่งที่แยกจากกันได้ ดังเช่น ศาสตราจารย์วิลเลียม  ซิฟฟิน  ได้กล่าวไว้ว่า หากปราศจากองค์การบริหารแล้วสังคมก็จะไม่มี หากปราศจากสังคมแล้วมนุษย์ก็ไม่อาจจะดำรงชีวิตอยู่ได้(วิจิตร  ศรีสอ้านและคณะ,2523;4)

หลักการบริหารและวิวัฒนาการ
วิชาการบริหารได้พัฒนามาตามลำดับเริ่มจากอดีต หรือการบริหารในระยะแรก ๆ นั้น มนุษย์ยังขาดประสบการณ์การบริหาร จึงเป็นการลองผิดลองถูก การแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ยังไม่แพร่หลายและกว้างขวาง การเรียนรู้หลักการบางอย่างจึงเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง หรือมีการแลกเปลี่ยนกันในวงจำกัด คือ การถ่ายทอดไปยังทายาท ลูกศิษย์ หรือลูกจ้าง เป็นต้น ต่อมาการบริหารเริ่มมีความหมายชัดเจนและรัดกุมขึ้นในศตวรรษที่ 18 โดยกลุ่มนักรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งเรียกตัวเองว่า Cameralist ในประเทศเยอรมันและออสเตรีย โดยให้คำจำกัดความของคำว่า การบริหาร หมายถึง การจัดการหรือการควบคุมกิจการต่าง ๆ ของรัฐ เช่น การบริหารอาณานิคม การบริหารเกี่ยวกับกิจการภาษี การบริหารการ เงินของมูลนิธิ และการบริหารอุตสาหกรรม เป็นต้น
ต่อมาปลายศตวรรษที่ 18 นักบริหารชาวสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า Federalist ได้ให้ความหมายของคำว่า การบริหาร หมายถึง การบริหารงานของรัฐ (Public Administration) และต่อมาได้ใช้คำว่า Administration หมายถึง การบริหารเกี่ยวกับ กิจการของรัฐ ส่วนคำว่า Management หมายถึง การบริหารเกี่ยวกับภารกิจของเอกชน
ปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 อุตสาหกรรมและการค้าในยุโรปและอเมริกาได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นผลมาจากได้มีการพัฒนาการผลิตสินค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะเมื่อ Henry Ford ได้ผลิตรถยนต์โดยใช้สายพาน และนักอุตสาหกรรมอื่นได้ ผลิตสินค้าจำนวนมาก โดยคิดค้นวิธีการลดต้นทุนการผลิต โดยการตัดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง และระยะนี้เองได้มีการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) มาใช้ โดยวิศวกรชาวอเมริกัน คือ Frederick W. Taylor นอกจากนี้ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้พยายามแบ่งยุคหรือวิวัฒนาการทางการบริหารแตกต่างออกไป ดังนี้
อรุณ รักธรรม ได้แบ่งวิวัฒนาการบริหารออกเป็น 3 ระยะ คือ

1. ระยะเริ่มต้น เป็นระยะของการปูพื้นฐานและโครงสร้าง บุคคลสำคัญ ในระยะนี้ได้แก่ Woodrow Wilson, Leonard D. White, Frank T. Goodnow, Max weber, Frederick W. Taylor และ Henri Fayol เป็นต้น
2. ระยะกลางหรือระยะพฤติกรรมและภาวะแวดล้อม ผู้มีชื่อเสียงใน ระยะนี้ ได้แก่ Elton Mayo, Chester I. Barnard, Mary P. Follet เป็นต้น
3. ระยะที่สาม หรือ ระยะปัจจุบัน มี Herbert A. Simon, Jame G. March เป็นผู้วางรากฐาน

นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ ได้แบ่งวิวัฒนาการของการบริหารออกเป็น 3 ยุค คือ
1. ยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Era) ผู้มี บทบาทสำคัญได้แก่ Frederick W. Taylor, Henri Fayol, Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick
2. ยุคการบริหารแบบมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation Era) ผู้มี บทบาทสำคัญได้แก่ Mary P. Follet, Elton Mayo และ Fritz J. Rocthlisberger
3. ยุคทฤษฎีการบริหาร (The Era of Administrative Theory) เป็นยุคที่ ผสมผสานสองยุคแรกเข้าด้วยกัน จึงเป็นยุคบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ Chester I. Barnard และ Herbert A. Simon


อ้างอิง

 (วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ, 2523 : 4)
กิจกรรมที่1
ให้นักศึกษาค้นคว้าความหมายคำว่า  การจัดการชั้นเรียน  จากหนังสือ  อินเตอร์เน็ตแล้วสรุปลงบทสร้างกิจกรรมที่1
ความหมายที่1
การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยความสนใจใฝ่รุ้ ใฝ่ศึกษาตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน
จากการศึกษาสรุปได้ว่า
      การจัดการชั้นเรียน หมายถึง จะเป็นการจัดในชั้นเรียนให้มีความเอื้ออำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนและจะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนการสอนตรงตามเป้าหมายที่ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต้องการต้องการ

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติการศึกษา

เเนะนำตัวเจ้าค่ะ

นางสาว นิอายูนี  บีรู   เรียกอยู่บ่อยๆ  ยุ
เปิดตาดุโลก   7 มิถุนายน
มีพี่น้อง4คน ชาย 2คน หญิง2คน
ภุมิลำเนา  บ้านแกแม หมู่ที่ 4  ตใตนหยงมัส  อ.ระแงะ  จ.นราธิวาส 96130

ประวัติการศึกษา

-เรียนอนุบาล ประถมโรงเรียนบ้านแกแม
-เรียนมัธยมต้น โรงเรียนโต๊ะดามียะห์ อ.เมือง จ.นราธิวาส 96130
-เรียนมัธยมปลาย โรงเรียนดารุสสาลาม อ.ระแงะ  จ.นราธิวาส  96130
-ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปี3 สังคมศึกษา01

ปรัชญา

ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา...
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝันเท่านั้นพอ...