วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

กิจกรรมที่11
การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
                จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
1) การวิเคราะห์หลักสูตร
ในการวิเคราะห์หลักสูตร  หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือแนวการจัดการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระนั้น คุณครูต้องนำมาตรฐาน ตัวชี้วัด  สาระแกนกลาง กรอบสาระท้องถิ่นของเขตพื้นที่  สมรรถนะที่สำคัญ  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา  โครงสร้างรายวิชา  การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ 
2) การวิเคราะห์ผู้เรียน     
            เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่  อายุ  ระดับความรู้  สังคม  เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของบทเรียนและเพื่อเลือกตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้  ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน
3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 
 การสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ (ลักษณะนิสัย) และทั้งด้านIQ (Intelligence Quotient) และด้าน EQ (Emotional Quotient) ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข
การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
             ดังนั้นผู้สอนทุกคนจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเอง จากการเป็นผู้บอกความรู้ให้จบไป ในแต่ละครั้งที่เข้าสอน มาเป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนกล่าวคือเป็นผู้กระตุ้น ส่งเสริมสนับสนุนจัดสิ่งเร้าและจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล การจัดกิจกรรมจึงต้องเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ สร้างสรรค์ ศึกษาและค้นคว้า ได้ลงมือปฏิบัติจริง จนเกิดการเรียนรู้และค้นพบความรู้ด้วยตนเองเป็นสาระความรู้ที่เกิดขึ้นจากการศึกษาค้นคว้ามิใช่ความรู้ที่ได้รับจากครูผู้สอนแต่เพียงแหล่งเดียว ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีนิสัยสนใจใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง รักการอ่าน รักการเรียนรู้อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long-life Education) และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Man) ผู้สอนจึงต้องสอนวิธีการแสวงหาความรู้ (Learn how to learn) มากกว่า สอนตัวความรู้ สอนการคิดมากกว่าสอนให้ท่องจำ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง ๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็ฯสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป
             การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน จึงต้องใช้เทคนิควิธีสอนวิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายวิธีซึ่งจำแนกได้ดังนี้
1. การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม
                2. เทคนิคการศึกษาเป็นรายบุคคล
             3. เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ
              4. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นปฏิสัมพันธ์
             5. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์
             6. เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ
             7. เทคนิคการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 
สื่อการเรียนรู้ หรือ สื่อการเรียนการสอน เป็นตัวกลางให้ผู้สอนได้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความคิดเห็น และเจตคติ ไปสู่ผู้เรียน รวมทั้งการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง สื่อการเรียนรู้ครอบคลุมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี และวิธีการ
การใช้สื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
                สื่อการสอน ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แบบจำลอง สิ่งพิมพ์หรือเอกสาร สิ่งแวดล้อม สิ่งประดิษฐ์ กิจกรรมหรือเกมต่างๆ และสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่สนองจุดมุ่งหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
                สื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอยู่หลายประการ โดยเฉพาะการพัฒนาทางด้านทักษะและกระบวนการ เช่น มีบทบาทในการสร้างความคิด การแก้ปัญหาต่างๆ ช่วยสร้างมโนทัศน์ ช่วยในการสืบสวนสอบสวน   อย่างอิสระ กระตุ้นความสนใจ พัฒนาความสามารถตามความแตกต่างของบุคคล หรือใช้สร้างความพึงพอใจในวิชาเรียนของนักเรียน
                ในการนำสื่อการสอนมาใช้ในการเรียนรู้ นอกจากครูจะต้องตระหนักว่าสื่อนั้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ด้านต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ครูต้องตระหนักว่าความสามารถของสื่อมีขีดจำกัด ไม่สามารถนำมาใช้ประกอบการสอนได้ทุกเนื้อหาหรือทุกกรณี ต้องไม่สอนให้นักเรียนหลงติดรูปธรรมหรือสื่อจนขาดความคิดที่เป็นนามธรรม
                การใช้สื่อปฏิบัติช่วยในการเรียนรู้ ซึ่งสื่อปฏิบัติ มีบทบาทสำคัญในการสอนนักเรียน การใช้อุปกรณ์หรือสื่อปฏิบัติหลายๆ อย่างเพื่อนำเสนอมโนทัศน์หนึ่ง ถือว่าเป็นการแสดงอย่างเป็นรูปธรรมที่มีความหลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ลักษณะหรือคุณลักษณะร่วมของมโนทัศน์นั้นๆ ปรากฏชัดเจนขึ้นสำหรับนักเรียน
                บทสรุป
         การนำเอาเทคโนโลยี เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เป็นการเพิ่มพูน ประสิทธิภาพทางการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และในสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ได้ ครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเอง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น จึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ แล้ววิเคราะห์ความเป็นไปได้ ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ที่มีความพร้อมในระดับหนึ่ง ครูควรต้องพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อนำพาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ ดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุข

 5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
การวัดและประเมินผลเป็นส่วนสำคัญของการจัดการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผลจึงต้องปรับเปลี่ยนไป ให้มีลักษณะเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และประเมินผลตามสภาพจริงด้วย
          การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงของผู้เรียน มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.  เน้นการประเมินที่ดำเนินการไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งสามารถทำได้ตลอดเวลา ทุกสภาพการณ์
              2.   เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริง ๆ
              3.  เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
4.   ใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิธีการประเมิน ตลอดจนจุดประสงค์ในการประเมิน
5.   เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ ความสามารถหลายๆ ด้าน
6.  การประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
7.  เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียน ผู้ปกครอง และครู
6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 
การนำแนวคิดการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1.  ก่อนนำไปใช้ ครูต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการประเมินตามสภาพจริง ที่สำคัญที่สุด คือ การศึกษาด้วยตนเองและลงมือปฏิบัติจริง พัฒนาความรู้จากการลงมือปฏิบัติ
2.  การแนะนำให้ผู้เรียนจัดทำแฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงานของผู้เรียน นอกจากจะแสดงพัฒนาการของผู้เรียนแล้ว ยังเป็นการสะท้อนการสอนของครู เพื่อจะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
2.1 หลักการเบื้องต้นของการจัดทำแฟ้มสะสมงาน
                           2.2 ความสำคัญของแฟ้มสะสมงาน
7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน              การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) เป็นการทำวิจัยโดยครูผู้สอนในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการจัดประสบการณ์ของครู ถือได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานของครู
        กล่าวโดยสรุปได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน โดยครูผู้สอนในชั้นเรียนนั้นๆ เป็นการดำเนินการที่มีการวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตผล และการสะท้อนกลับ ซึ่งเป็นการวิจัยที่ทำเร็ว นำผลไปใช้ได้ทันที นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียนอย่างแท้จริง
จัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ ครูผู้สอน ดังนั้นครูผู้สอนจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของความสำคัญ ความจำเป็น ทั้งนี้เพราะจะช่วยในการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการจัดการเรียนการสอน เมื่อแนวคิดเปลี่ยน  การกระทำย่อมเปลี่ยนตามไปด้วย  การกระทำหรือบทบาทของครูผู้สอนมีประเด็นสำคัญดังนี้
บทบาทในฐานะผู้จัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพ ครูมีบทบาทที่สำคัญมีดังนี้
1.  การเตรียมการสอน ครูควรเตรียมการสอนดังนี้
                1.1 วิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียน เพื่อจัดกลุ่มผู้เรียนตามความรู้ความสามารถ และเพื่อกำหนดเรื่องหรือเนื้อหาสาระในการเรียนรู้
1.2 วิเคราะห์หลักสูตรเพื่อเชื่อมโยงกับผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะการกำหนดเรื่องหรือเนื้อหาสาระในการเรียนรู้  ตลอดจนวัตถุประสงค์สำคัญ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นสากล
1.3 เตรียมแหล่งเรียนรู้  เตรียมห้องเรียน
1.4 วางแผนการสอน ควรเขียนให้ครอบคลุมองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
                                  (1)  กำหนดเรื่อง
                                  (2)  กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
                                  (3)  กำหนดเนื้อหา ครูควรมีรายละเอียดพอที่จะเติมเต็มผู้เรียนได้  ตลอดจนมีความรู้ในเนื้อหาของศาสตร์นั้นๆ
                                  (4)  กำหนดกิจกรรม  เน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้คิดและลงมือปฏิบัติ ได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  นำข้อมูลหรือความรู้นั้นมาสังเคราะห์เป็นความรู้หรือเป็นข้อสรุปของตนเอง  ผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียนอาจมีความหลากหลายตามความสามารถ ถึงแม้จะเรียนรู้จากแผนการเรียนรู้เดียวกัน
                                  (5)  กำหนดวิธีการประเมินที่สอดคล้องกับจุดประสงค์
                                  (6)  กำหนดสื่อ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือประเมิน
                   2.  การสอน ครูควรคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
                             2.1  สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
                             2.2  กระตุ้นให้ผู้เรียนร่วมกิจกรรม
                             2.3  จัดกิจกรรมหรือดูแลให้กิจกรรมดำเนินไปตามแผน และต้องคอยสังเกต บันทึกพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เรียนแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มเพื่อสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้มีความเหมาะสม
                             2.4  ให้การเสริมแรง หรือให้ข้อมูลย้อนกลับ ให้ข้อสังเกต 
                             2.5  การประเมินผลการเรียน  เป็นการเก็บรวบรวมผลงานและประเมินผลงานของผู้เรียน ประเมินผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้
          จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้กล่าวมา จะเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นสิ่งที่ทำยาก และดูเหมือนว่าครูจะมีภาระงานมากขึ้น ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานนี้ได้จะต้องมีความตั้งใจ ความพยายาม ความอดทน และต้องทำงานตลอดเวลา แต่ถ้าจะพิจารณาอย่างถ่องแท้ แล้ว ก็ไม่ใช่ภาระงานที่นอกเหนือขอบเขตของความเป็นครูที่มีหน้าที่โดยตรงในการพัฒนาบุคคล ครูที่ปฏิบัติหน้าที่เต็มที่ตามแนวทางที่ถูกต้องย่อมจะได้รับผลงานของความเหน็ดเหนื่อยอย่างคุ้มค่าในเบื้องต้น คือได้ชื่นชมกับความเจริญงอกงามของศิษย์ดังคำกล่าวที่ว่า “ความสำเร็จของศิษย์คือรางวัลชีวิตของครู” และทางด้านวัตถุก็จะได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ ครูทั้งหลายที่มีความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ของตน ย่อมจะมีความยินดีที่จะรับภาระอันหนักแต่มีคุณค่านี้ไว้ด้วยความเต็มใจ และมีความภาคภูมิใจในความเป็นครูอาชีพ มิใช่คนที่มีอาชีพเป็นครูและหาเลี้ยงชีวิตอยู่ไปวันๆ
เช่น  การจัดการสอนของดิฉัน
   1. ดูว่าวิชาที่เราจะสอนหลักสูตรแกนกลางเขากำหนดว่าอย่างไรต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไรแล้วนำความสำคัญนั้นมาปรับเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
  2.  และเรามาดูว่าผู้เรียนมีลักษณะอย่างไร และเราต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร โดยจะต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการจัดกิจกรรม
  3. ในการจัดกิจกรรมเราจะเน้นสื่อเป็นจุดเชื่อมเรื่องต่างๆของกิจกรรม
  4. โดยการจัดกิจกรรมเราจะประเมินผลโดยเพื่อนของนักเรียนและครูผู้สอนหรือครูผู้สอนคนอื่น
  5. เมื่อได้ผลประเมินมาครูผู้สอนก็นำมา วัดผล วิเคราะห์และสงเคราะห์ออกมา ดูว่าผู้เรียนแต่ละคนผลเป็นอย่างไรแล้วนำส่วนที่บกพร่องไปปรับปรุงแก้ไขไห้ดีขึ้น
  6. การจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต  วัดผล  ทดสอบต่างๆ  เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขนำไปใช้ในอนาคต  
ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง        พุทธประวัติ                                                                                           เวลา 6 ชั่วโมง
วันที่............... เดือน .................................................... พ.ศ. .........................................

สาระสำคัญ
                สังคมชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาลมีระบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนคติความเชื่อทางศาสนา เป็นของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อในเรื่องวรรณะที่ชาวชมพูทวีปยึดมั่นอย่างเคร่งครัดจนกลายเป็นเครื่องกดขี่เอารัดเอาเปรียบกัน ไม่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ จึงเป็นผลให้เกิดพระพุทธศาสนาขึ้น

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายพุทธประวัติได้
2. วิเคราะห์พุทธประวัติของพระพุทธเจ้าได้อย่างเป็นกระบวนการ
เนื้อหาสาระ
1. สรุปและวิเคราะห์พุทธประวัติ
                1.1 ประสูติ
                1.2 เทวทูต 4
                1.3 การแสวงหาความรู้
                1.4 บำเพ็ญทุกรกิริยา
                               
กระบวนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 3 ประสูติ                        เวลา        2              ชั่วโมง
ขั้นนำ      1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศการเรียนรู้โดยนำผู้เรียนนั่งแยกเป็นกลุ่มนอกห้องเรียน แล้วนั่งสมาธิ 3-5 นาทีก่อนเรียน
                2. ให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน
                3. ผู้สอนแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                4. ผู้สอนนำเข้าสู่บทเรียนโดยการสนทนาประเด็นต่าง ๆ กับผู้เรียน
ขั้นสอน  5แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลาง และอ่อน
                6. ผู้สอนเปิด ซีดีสาระพระพุทธศาสนา ม.1 เรื่องพุทธประวัติให้ผู้เรียนดู
7.ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสนทนาถาม-ตอบ เกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้ดูหลังจากนั้นให้สรุปเนื้อหาเป็นแผนภาพ
                8. ผู้สอนสุ่มตัวแทนกลุ่มมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน 2-3 กลุ่ม จากนั้นช่วยกันเฉลยคำตอบของใบกิจกรรม
ขั้นสรุป   10. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปสาระสำคัญเรื่อง การประสู ติ      

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 4      เทวทูต 4 เวลา 1 ชั่วโมง
 ขั้นนำ     1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้โดยการให้ผู้เรียนสวดมนต์ไหว้พระ และทำสมาธิ 3-5 นาที
                2. ผู้สอนสนทนากับผู้เรียนเพื่อทบทวนความรู้เรื่อง เทวทูต 4
 ขั้นสอน3.แจกใบความรู้เรื่อง เทวทูต 4 ให้ผู้เรียนศึกษา 5 นาที
                4. ผู้สอนให้ผู้เรียนตั้งคำถาม หลังจากนั้นแลกเปลี่ยนกันถามตอบ
ขั้นสรุป5. ผู้สอนนำสื่อ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา(CAI)ให้ผู้เรียนศึกษาเป็นการสรุปเนื้อหา
                6. ผู้สอนให้ผู้เรียนทำแผนที่ความคิดเป็นการสรุปเนื้อหาอีกรอบ

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 5      การแสวงหาความรู้                เวลา         1              ชั่วโมง
ขั้นนำ      1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศโดยการให้ผู้เรียนจัดโต๊ะเป็นกลุ่ม ไหว้พระสวดมนต์ และทำสมาธิ 3-5 นาที
                2. ผู้สอนนำภาพพระพุทธเจ้าแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ แล้วสนทนาเกี่ยวกับภาพตามประเด็นดังนี้
                                2.1 ภาพนี้เป็นภาพอะไร
                                2.2 ภาพนี้เกิดขี้นที่ไหน
                                2.3 ภาพนี้มีความสำคัญอย่างไรต่อพระพุทธศาสนา
ขั้นสอน  3. ผู้สอนให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรมแล้วส่งผลงาน
                4. ให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ผู้สอนชมเชยผู้ที่มีผลงานอยู่ในเกณฑ์ดี
ขั้นสรุป   5. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญเรื่อง เทวทูต 4

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 6      บำเพ็ญทุกรกิริยา    เวลา         2              ชั่วโมง
ขั้นนำ      1. ผู้สอนสร้างบรรยากาศโดยการให้ผู้เรียนจัดโต๊ะเป็นกลุ่ม ไหว้พระสวดมนต์ และทำสมาธิ 3-5 นาที
                2. ผู้สอนนำภาพพระพุทธเจ้าตอนบำเพ็ญทุกรกิริยาแล้วสนทนาเกี่ยวกับภาพตามประเด็นดังนี้
                                2.1 ภาพนี้เป็นภาพอะไร
                                2.2 ภาพนี้เกิดขี้นที่ไหน
                                2.3 ภาพนี้มีความสำคัญอย่างไรต่อพระพุทธศาสนา
ขั้นสอน  3. ผู้สอนให้ผู้เรียนทำใบกิจกรรมแล้วส่งผลงาน
                4. ให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ผู้สอนชมเชยผู้ที่มีผลงานอยู่ในเกณฑ์ดี
ขั้นสรุป   5. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญเรื่อง บำเพ็ญทุกรกิริยา
                6. ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
                7. ผู้เรียนทำแบบทดสอบตอนที่ 2

สื่อการเรียนรู้
                1. ภาพพระพุทธเจ้าแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์/บำเพ็ญทุกรกิริยา
                2. CAI สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ม.1
               
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
                1. วิธีวัด
                                - สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม/รายบุคคล
                                - ตรวจกิจกรรม/ใบงานรายบุคคล
                                - ตรวจผลงานกลุ่ม
                                - ตรวจแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
                                -  ตรวจแบบทดสอบตอนที่ 2
                2.เครื่องมือวัด
                                - แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม/รายบุคคล
                                - แบบประเมินกิจกรรม/ใบงานรายบุคคล
                                - แบบประเมินผลงานกลุ่ม
                                - แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
                                - แบบทดสอบตอนที่ 2

กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
                1. ให้ผู้เรียนช่วยกันทำแผ่นพับเกี่ยวกับการประสูติของพระพุทธเจ้า

บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
                1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                ...............................................................................................................................................
                ...............................................................................................................................................
                ...............................................................................................................................................
                2.ปัญหาอุปสรรค
                ...............................................................................................................................................
                ...............................................................................................................................................
                ...............................................................................................................................................
3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
                ...............................................................................................................................................
                ...............................................................................................................................................
                ...............................................................................................................................................

ลงชื่อ ............................................................
ผู้สอน


อ้างอิง
www.kruwit.com/downdoc/Mediaapplie.doc