วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่8

กิจกรรมที่8

เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)
ให้นักศึกษา  สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
                      แนวทางพัฒนาองค์การ
                      กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
โดยให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย    
   เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)  
 ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
          ศิริพงษ์ (2547) ได้กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรมและสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในองค์การ หรือถ้าจำเพาะเจาะจง หมายถึง ปรัชญา อุดมการณ์ ความรู้สึก คติฐาน (assumption) ความคาดหวัง เจตคติ บรรทัดฐาน (norms) และค่านิยม (value) วัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่า โครงสร้างขององค์การ แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง องค์การได้รับพลังมาจากสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร บุคคล และวัสดุอุปกรณ์ พลังดังกล่าวจะเชื่อมโยงมาเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์การ และทำให้สมาชิกในองค์การประสบผลตามที่ต้องการ ส่วนกระบวนการบริหาร เช่น แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การสื่อสาร การเปลี่ยนแปลง และโครงสร้างขององค์การ ได้แก่ คำอธิบายงาน ระบบคัดเลือก ระบบประเมินผล ระบบควบคุม และระบบการให้รางวัล มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์การและอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การด้วย ระบบสังคมจะให้ผลย้อนกลับเพื่อตรวจสอบวัฒนธรรมปัจจุบันว่าควรอยู่หรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมย่อย (subculture) ในองค์การขนาดใหญ่และซับซ้อนไม่อาจจะมีส่วนต่าง ๆ คล้ายกันได้ เป็นต้น แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การ
       วัฒนธรรมมิใช่เป็นเพียงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมโดยทั่วไปเท่านั้น แต่ยังเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานต่างๆ ด้วย สังคมอาศัยวัฒนธรรมเพื่อช่วยในการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาพื้นฐานบางประการของกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันเพื่อความอยู่รอดของสมาชิก เช่น สังคมอาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองและกระบวนการยุติธรรมมาช่วยแก้ปัญหาการเมืองและความขัดแย้งในสังคม หรือในเรื่องปากท้องของประชาชนอันเป็นปัญหาเศรษฐกิจสังคมก็อาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาช่วยขจัดปัดเป่าปัญหาให้ทุเลาลง เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของสังคม วัฒนธรรม หรือ วัฒนธรรมในหน่วยงาน ก็ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของสังคม เช่น วัฒนธรรมองค์การในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้รางวัล (การขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง) และการลงโทษ (การภาคทัณฑ์ การไล่ออก) ช่วยสื่อให้สมาชิกของหน่วยงานทราบถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติและการทำงานที่หน่วยงานคาดหวัง ถ้าสมาชิกประพฤติปฏิบัติตามก็ช่วยให้ปัญหาบางประการ เช่น (การลาออก) ทุเลาเบาลงและงานจะดำเนินไปอย่างมีระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกันมากขึ้น ดังนั้นเมื่อวัฒนธรรมองค์การมีบทบาทภายในหน่วยงานหลายประการ การศึกษาวัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเรื่องสำคัญและน่าสนใจควบคู่กันไป
  กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ       กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ
     1. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ    การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง      2. การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็น
ปกติ 
      เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก   กล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ
   แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่7

กิจกรรมที่ 7
การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ
       การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง  เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
       การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพของห้องเรียน  รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
       ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
1.  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2.  การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน  เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
3.  ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม 
4.  การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
       ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน  เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้  รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
   บทบาทของการเป็นผู้นำของครูออกเป็น  3  ประเภท
1.  ครูที่มีเผด็จการ  ลักษณะของครูเช่นนี้  จะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการสอนจึงเน้นการถ่ายทอดความรู้โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ
2.  ครูที่มีความปล่อยปะละเลย  ครูประเภทนี้มีลักษณะอ่อนโยน
3.  ครูที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย  ครูประเภทนี้พร้อมที่จะตัดสินใจในปัญหาต่างๆ แต่ก็ยอมรับฟังความคิดเห็น  และความต้องการของนักเรียน

กิจกรรมที่6


         วิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำ ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก
          มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด
          
มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่

มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู

มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ

๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
การนำไปประยุกต์ใช้          เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ ตัวอย่างเช่นที่  ได้เน้นที่มาตรฐานวิชาชีพของตน ในการบริการที่ให้ผู้เรียนและสังคมที่ดีที่สุด ทั้งในระดับการบริการภายในและภายนอกสถาบัน ภาควิชาและหน่วยงานต่างๆ เช่น การสร้างหน่วยงานเป็นลักษณะคลีนิคที่ให้บริการที่หลากหลาย มีการตั้งหน่วยงานให้คำปรึกษาสาขาวิชาต่างๆนอกสถาบันทั่วประเทศ เพื่อให้บริการเชิงของการเป็นที่ปรึกษา ซึ่งสำนักระเมินคุณภาพได้ประเมินให้เป็นสถาบันที่ได้รับการยกย่องเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ จึงกล่าวได้ว่าการประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพ ความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย

กิจกรรมที่5

กิจกรรมที่ 5

  คำว่า ต้นแบบ มีความหมายดังนี้
             ต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบเพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง  ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ  แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ หรืออาจประยุกต์แบบ
             ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน  เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล  กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรค์สิ่งดีงาม 
     ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ  3  ประการ  คือ ต้นแบบสอนให้รู้  ต้นแบบทำให้ดู  และต้นแบบอยู่ให้เห็น
ส่วนจุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ  คือการ  ได้รู้  ได้ดู ได้เห็นต้นแบบ 

กิจกรรมที่4

ภาวะผู้นำ  และการเปลี่ยนแปลง
       ภาวะผู้นำ  หรือความสามารถในการนำซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ  ซึ่งการการเปลี่ยนแปลงนั้นควรจะต้องเริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดและจูงใจก่อนเป็นอันดับแรก  ซึ่งนั่นคือการกำหนดทิศทาง  เป็นการวางเป้าหมายสำหรับอนาคต  และการสร้างศรัทธาเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การนำนี้สำเร็จ
       ศรัทธาเป็นเรื่องของ  ความชอบ  ความเชื่อ  เป็นเรื่องของการยอมรับ  เป็นเรื่องของใจ    ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลกำกับเสมอ  โดยหลักใหญ่ๆแล้วการที่คนผู้หนึ่งผู้ใดจะเป็นที่ยอมรับ นับถือของคนทั่วไป 
       ปัจจัยหลักในการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ในตัวผู้นำถือเป็นคุณสมบัติในเรื่องการเป็น  ผู้ให้ 
       ดังนั้นผู้นำที่แท้คือผู้ที่โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน  และผู้นำที่แท้ต้องการจะเห็นคนทุกคนที่ก้าวเดินไปพร้อมกับเขา  มีความสุข  ได้รับชนะ  ถึงแม้ว่าสายตาของเขาจะจับจ้องอยู่ที่ชัยชนะ  แต่ก็เป็นชัยชนะเพื่อคนทุกคน  เขาจะเป็นบุคคลที่คิดถึงตัวเองเป็นคนสุดท้าย

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3

กิจกรรมที่3
ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ 


พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ  เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 22 ของไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีดรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นเจ้าของสมญา "ขงเบ้งแห่งกองทัพบก" เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ขณะดำรงตำแหน่งทางทหาร เป็นผู้ก่อตั้ง และหัวหน้า พรรคความหวังใหม่ คนแรก และเป็นอดีต ส.ส.หลายสมัย มีคะแนนเสียงหนาแน่นในจังหวัดนครพนมสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "บิ๊กจิ๋ว" และในพื้นที่ภาคอีสาน เรียก พล.อ.ชวลิตว่า "พ่อใหญ่จิ๋ว" นอกจากนี้แล้วยังมีอีกฉายาหนึ่งว่า "จิ๋วหวานเจี๊ยบ" จากการมีบุคคลิกพูดจาอ่อนนิ่ม นุ่มนวล

ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง :
  • 23 มีนาคม 2527 : สมาชิกวุฒิสภา
  • 22 เมษายน 2530 : สมาชิกวุฒิสภา
  • 30 มีนาคม 2533 : รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รัฐบาลชาติชาย ครม.คณะที่ 45)
  • 22 มีนาคม 2535 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี
  • 15 พฤษภาคม 2535 : ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • 13 กันยายน 2535 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี
  • 29 กันยายน 2535 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (รัฐบาลชวน ครม.คณะที่ 50)
  • 14 กรกฎาคม 2537 : รองนายกรัฐมนตรี (รัฐบาลชวน ครม.คณะที่ 50)
  • 2 กรกฎาคม 2538 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครพนม
  • 18 กรกฎาคม 2538 : รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รัฐบาลบรรหาร ครม.คณะที่ 51)
  • 17 พฤศจิกายน 2539 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจ ังหวัดนครพนม
  • 25 พฤศจิกายน 2539 : นายกรัฐมนตรี
  • 29 พฤศจิกายน 2539 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รัฐบาลชวลิต ครม.คณะที่ 52)
  • 10 เมษายน 2540 : ประธานคณะผู้บริหารความหวังใหม่
  • 26 พฤศจิกายน 2540 : ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • 2 กันยายน 2541 : ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • 12 พฤษภาคม 2542 : ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • 17 กุมภาพันธ์ 2544 : รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รัฐบาลทักษิณ ครม.คณะที่ 54)
  • 24 กันยายน 2551 - 7 ตุลาคม 2551 : รองนายกรัฐมนตรี ((รัฐบาลสมชาย ครม.คณะที่ 58)
  • 27 ตุลาคม 2552 - ปัจจุบัน : ประธานพรรคเพื่อไทย[2]
กิจกรรมที่2
ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการในประเด็นนี้
1.มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
2.นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ให้สรุปเขียนในกิจกรรมที่2ลงในเว็บบล็อกของนักศึกษา โดยสรุปจากการอ่านของนักศึกษาให้มีการนำมาอ้างอิงสิ่งที่นักศึกษษนำมาใช้เขียน
สังคมของมนุษย์ เป็นสังคมที่รวมตัวการเป็นกลุ่ม หมุ่เหล่า เป็นชุมชนขนาดต่างๆ ตั้งแต่หมู่บ้าน ตำบล เมืองและประเทศ จึงต้องมีการจัดระบบระเบียบสังคม เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่างๆเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพื่ความอยู่รอดสงบสุขและบังเกิดความก้าวหน้าในชุมชนเหล่านั้น จึงเป็นสาเหตุให้เกิด สถาบันสังคมและการบริหาหารขึ้นมา
สถาบันสังคมที่จัดตั้งขึ้น ไม่ว่าสถาบันครอบครัว วัด โรงเรียนและองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงต้องอำนวยความสะดวกหรือบริการเพื่อประโยชน์สุขของสมาชิกและความเจริญของสังคม โดยดำเนินภารกิจตามที่สังคมมอบหมายด้วยการจัดตั้ง องค์การบริหารที่เหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรมนั้นๆ ดังนั้นสังคมกับองค์การบริหารจึงเป็นสิ่งที่แยกจากกันได้ ดังเช่น ศาสตราจารย์วิลเลียม  ซิฟฟิน  ได้กล่าวไว้ว่า หากปราศจากองค์การบริหารแล้วสังคมก็จะไม่มี หากปราศจากสังคมแล้วมนุษย์ก็ไม่อาจจะดำรงชีวิตอยู่ได้(วิจิตร  ศรีสอ้านและคณะ,2523;4)

หลักการบริหารและวิวัฒนาการ
วิชาการบริหารได้พัฒนามาตามลำดับเริ่มจากอดีต หรือการบริหารในระยะแรก ๆ นั้น มนุษย์ยังขาดประสบการณ์การบริหาร จึงเป็นการลองผิดลองถูก การแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ยังไม่แพร่หลายและกว้างขวาง การเรียนรู้หลักการบางอย่างจึงเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง หรือมีการแลกเปลี่ยนกันในวงจำกัด คือ การถ่ายทอดไปยังทายาท ลูกศิษย์ หรือลูกจ้าง เป็นต้น ต่อมาการบริหารเริ่มมีความหมายชัดเจนและรัดกุมขึ้นในศตวรรษที่ 18 โดยกลุ่มนักรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งเรียกตัวเองว่า Cameralist ในประเทศเยอรมันและออสเตรีย โดยให้คำจำกัดความของคำว่า การบริหาร หมายถึง การจัดการหรือการควบคุมกิจการต่าง ๆ ของรัฐ เช่น การบริหารอาณานิคม การบริหารเกี่ยวกับกิจการภาษี การบริหารการ เงินของมูลนิธิ และการบริหารอุตสาหกรรม เป็นต้น
ต่อมาปลายศตวรรษที่ 18 นักบริหารชาวสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า Federalist ได้ให้ความหมายของคำว่า การบริหาร หมายถึง การบริหารงานของรัฐ (Public Administration) และต่อมาได้ใช้คำว่า Administration หมายถึง การบริหารเกี่ยวกับ กิจการของรัฐ ส่วนคำว่า Management หมายถึง การบริหารเกี่ยวกับภารกิจของเอกชน
ปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 อุตสาหกรรมและการค้าในยุโรปและอเมริกาได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นผลมาจากได้มีการพัฒนาการผลิตสินค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะเมื่อ Henry Ford ได้ผลิตรถยนต์โดยใช้สายพาน และนักอุตสาหกรรมอื่นได้ ผลิตสินค้าจำนวนมาก โดยคิดค้นวิธีการลดต้นทุนการผลิต โดยการตัดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง และระยะนี้เองได้มีการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) มาใช้ โดยวิศวกรชาวอเมริกัน คือ Frederick W. Taylor นอกจากนี้ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้พยายามแบ่งยุคหรือวิวัฒนาการทางการบริหารแตกต่างออกไป ดังนี้
อรุณ รักธรรม ได้แบ่งวิวัฒนาการบริหารออกเป็น 3 ระยะ คือ

1. ระยะเริ่มต้น เป็นระยะของการปูพื้นฐานและโครงสร้าง บุคคลสำคัญ ในระยะนี้ได้แก่ Woodrow Wilson, Leonard D. White, Frank T. Goodnow, Max weber, Frederick W. Taylor และ Henri Fayol เป็นต้น
2. ระยะกลางหรือระยะพฤติกรรมและภาวะแวดล้อม ผู้มีชื่อเสียงใน ระยะนี้ ได้แก่ Elton Mayo, Chester I. Barnard, Mary P. Follet เป็นต้น
3. ระยะที่สาม หรือ ระยะปัจจุบัน มี Herbert A. Simon, Jame G. March เป็นผู้วางรากฐาน

นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ ได้แบ่งวิวัฒนาการของการบริหารออกเป็น 3 ยุค คือ
1. ยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Era) ผู้มี บทบาทสำคัญได้แก่ Frederick W. Taylor, Henri Fayol, Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick
2. ยุคการบริหารแบบมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation Era) ผู้มี บทบาทสำคัญได้แก่ Mary P. Follet, Elton Mayo และ Fritz J. Rocthlisberger
3. ยุคทฤษฎีการบริหาร (The Era of Administrative Theory) เป็นยุคที่ ผสมผสานสองยุคแรกเข้าด้วยกัน จึงเป็นยุคบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ Chester I. Barnard และ Herbert A. Simon


อ้างอิง

 (วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ, 2523 : 4)
กิจกรรมที่1
ให้นักศึกษาค้นคว้าความหมายคำว่า  การจัดการชั้นเรียน  จากหนังสือ  อินเตอร์เน็ตแล้วสรุปลงบทสร้างกิจกรรมที่1
ความหมายที่1
การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยความสนใจใฝ่รุ้ ใฝ่ศึกษาตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน
จากการศึกษาสรุปได้ว่า
      การจัดการชั้นเรียน หมายถึง จะเป็นการจัดในชั้นเรียนให้มีความเอื้ออำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนและจะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนการสอนตรงตามเป้าหมายที่ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต้องการต้องการ

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติการศึกษา

เเนะนำตัวเจ้าค่ะ

นางสาว นิอายูนี  บีรู   เรียกอยู่บ่อยๆ  ยุ
เปิดตาดุโลก   7 มิถุนายน
มีพี่น้อง4คน ชาย 2คน หญิง2คน
ภุมิลำเนา  บ้านแกแม หมู่ที่ 4  ตใตนหยงมัส  อ.ระแงะ  จ.นราธิวาส 96130

ประวัติการศึกษา

-เรียนอนุบาล ประถมโรงเรียนบ้านแกแม
-เรียนมัธยมต้น โรงเรียนโต๊ะดามียะห์ อ.เมือง จ.นราธิวาส 96130
-เรียนมัธยมปลาย โรงเรียนดารุสสาลาม อ.ระแงะ  จ.นราธิวาส  96130
-ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปี3 สังคมศึกษา01

ปรัชญา

ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา...
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝันเท่านั้นพอ...